ประวัติความเป็นมาของอำเภอผักไห่
ประวัติความเป็นมาของอำเภอผักไห่ โดย ขนมไทยไกลหวาน ผักไห่ อยุธยา
อำเภอผักไห่ เป็นอำเภอที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแคว้นทวาราวดีทั้งหมด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ 1 แขวงนครใน 2 แขวงอุทัย 3 แขวงรอบกรุง 4 แขวงเสนา
อำเภอผักไห่ แต่เดิมไม่ได้ชื่อว่าผักไห่ แต่รวมอยู่ในแขวงเสนา ซึ้งมีอาณาเขตรวม อำเภอผักไห่ เสนา บางบาล และ อำเภอบางไทรทั้งหมด ในสมัยรัชกาลที่3 ทรงเห็นว่า แขวงเสนามีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และ มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ยากแก่การปกครองดูแลให้ทั่วถึง จึงไห่แบ่งแยกเขตเสนาทางตอนเหนือเป็นแขวงเสนาใหญ่ ตอนใต้เป็นแขวงเสนาน้อย
ในปีพ.ศ.2438 และต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่ หมู่ 4 ตำบลผักไห่ ได้มีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้แบ่งเขตเสนาใหญ่ออกเป็น 2 ตอน คือตอนบนไห้เป็นแขวงอำเภอเสนาใหญ่ (อำเภอผักไห่) ตอนใต้ไห้เป็นแขวงอำเภอเสนากลาง (อำเภอเสนา) และ แบ่งแขวงเสนาน้อยออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเสนาใน (อำเภอบางบาล) และ แขวงเสนาน้อย (อำเภอบางไทร) ที่ทำการแขวงอำเภอเสนาใหญ่ครั้งแรกตั้งอยู่ที่ตำบลอมฤต หมู่ที่ 3 เหนือคลองบางทองโดยมีหลวงวารีโยธารักษ์ (อ่วม) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ทำการแขวงไปตั้งชั่วคราวที่ศาลาท่าน้ำวัดตาลานเหนือ และต่อมาย้ายมาตั้งที่หกมู่หลาน4 ตำบลผักไห่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอผักไห่เพื่อไห้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ตั้งอยู่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2460
สำหรับคำว่า “ผักไห่” สันนิฐานได้ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “ปากไห่” หรือ “ปากไห้” จากหลักฐานนิราศของนายมี ศิษย์ของสุนทรภู่ ได้เขียนถึงอำเภอผักไห่เมื่อครั้งตามเสด็จ รัชกาลที่5 เสด็จมาประภาสอำเภอผักไห่ในปี พ.ศ. 2414ได้เขียนคำว่าผักไห่เป็น ปากไห่ ส่วนในนิราศสุพรรณของนายมีก็ได้เขียนถึงผักไห่ว่า “พอยามหนึ่งถึงสถานบ้านปากไห่” อีกตอนหนึ่งเขียนว่า “จนรุ่งแจ้งแสงสางสว่างฟ้า ดูคูหาถิ่นฐานบ้านปากไห่” และ ในนิราศสุพรรณก็ได้เขียนถึงผักไห่ว่า “แต่วัดทุ่งท่าเหมือนหน้าน้ำ ทั้งสองลำล่องเลื่อนจนเพื่อนหลง ไปถึงบ้านปากไห่เหมือนใจจง แล้ววกลงออกทุ่งเที่ยวมุ่งมอง” นี้เป็นเพียงสันนิฐานมาแต่โบราณเรียกคำว่าผักไห่ เป็นปากไห่ ซึ่งความจริงอาจเป็นคำว่าผักไห่ที่แน่นอนก็ได้ เพราะผักไห่เป็นชื่อผักชนิดหนึ่งเลื้อยไปตามดินหรือริมรั้ว ตำบลผักไห่อาจมีต้นผักไห่มากมายในสมัยนั้นเพราะลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบต่ำ และในสมัยโบราณมักจะเรียกชื่อบ้านหรือหมู่บ้านตามสภาพแวดล้อม
(1 : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หอสมุดแห่งชาติ – 959.314 พ.339 ปฉ11, 2 : สารคดีอยุธยา ของสำนักพิมพ์สารคดี พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2538)
ผักไห่ : ผักโรราณที่ลูกหลานไม่รู้จัก
“โอกาสหน้าพี่จะมาหาใหม่ ไม่ลืมคนชื่อวิไล บ้านผักไห่ อยุธยา”
ความจริงคำว่า “ผักไห่” ในเพลงสาวผักไห่ เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ้งเป็นที่อยู่ของสาวที่ชื่อ “วิไล” สถานที่นี้มีอยู่จริง ดูเหมือนจะเป็นชื่อตำบล
ผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยสว่นใหญ่ที่ฟังเพลงนี้คงคิดว่า “ผักไห่” เป็นชื่อสถานที่เท่านั้น คงมีไม่กี่คนที่ทราบว่า “ผักไห่” เป็นชื่อของผักไทยโบราณชนิดหนึ่งที่ยังคงหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันแต่ถูกชาวไทยรุ่นใหม่ เรียกขานกันในชื่ออื่นไปแล้วคงเหลือเรียกกันตามชื่อเดิม เฉพาะท้องถิ่นชนบทที่ยังใช้ภาษาถิ่น (เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้) เท่านั้น สำหรับชาวไทยที่พูดภาษาไทยภาคกลาง ล้วนแล้วแต่ลืมชื่อ “ผักไห่” ไปหมดแล้ว กลับรู้จักและเรียกชื่อผักชนิดนี้เสียใหม่ว่า “มะระ”
“มะระ” เป็นชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ก็เพราะตรวจสอบจากหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 คือเมื่อ 122 ปีมาแล้ว ไม่ปรากฏมีคำว่า “มะระ” อยู่เลย มีแต่คำว่า “ผักไห่” ซึ้งไห้ความหมายไว้ว่า ” เป็นผักต้นเป็นเถาเลื้อยไป ใบมันเป็นแฉกๆ ลูกมีรสขม เขาต้มกินกับข้าวได้
( ที่มา : https://www.doctor.or.th/article/detail/3415)
ตามหาวิไล สาวผักไห่ อยุธยา
จากเวปไซด์ www.fmayutthaya.com/index กล่าวว่าชาตรี ศรีชลไม่เคยมาผักไห่เลยการแต่งเพลงสาวผักไห่เป็นการใช้จิตนาการล้วนๆ และ ชาตรี ศรีชลก็เคยมมาเปิดการแสดงที่โรงหนังอำเภอเสนาก่อนการแสดงเมาเหล้าจนตีองเข้าปีกขึ้นเวทีร้องเพลง ถ้าชาตรี ศรีชลเคยมาอำเภอเสนา. ก็เป็นไปได้ที่จะเคยมาผักไห่ด้วยเช่นกัน
จากคำบอกเล่าบางกระแสบอกว่าชาตรี ศรีชลมีเพื่อนเป็นคนผักไห่ ได้มาเที่ยวผักไห่ พบสาวสวยที่ชื่อวิไล หลังจากกลับไปก็แต่งเพลงสาวผักไห่ ชื่นชมความงามของสาววิไล แถมยังมีต่อท้ายว่า สาววิไลเป็นลูกสาวคหบดี มีบ้านอยู่เหนือตลาดผักไห่ แถวๆวัดชีโพน มีอาชีพเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนจีน
และถ้าสาววิไลเป็นคุณครูที่โงเรียนจีนผักไห่. ก็คงไม่ยากที่จะตามหาว่าบ้านสาววิไลอยู่ที่ใด โชคดีที่มีโอกาสได้พบกับคุณครูใหญ่ของโรงเรียนจีนในสมัยนั้นซึ่งปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ คืออาจารย์ ประไพรัตน์ ผ่องอักษร (เกิดปี พ.ศ. 2496) อายุอ่อนกว่า คุณชาตรี ศรีชล 4ปี สอบถามอาจารย์ แล้วไม่ปรากฏว่ามีคุณครูท่านใดในโรงเรียนจีนชื่อวิไล มีแต่เรือเมล์เล็กลำหนึ่งซึ่งคุณครูใหญ่ และ ครอบครัวใช้ในการเดินทางในลำคลองแม่น้ำน้อย ซึ่งบางครั้งคุณครูใหญ่ก็เป็นคนขับเรือมาโรงเรียนด้วยตัวเองเท่าที่ทราบมีเรือที่ชื่อวิไลเพียงลำเดียวเท่านั้นในผักไห่
ไม่ว่าคุณชาตรี จะใช้จิตนาการในการแต่งเพลง หรือ เพียงแค่เห็นสาวสวยในเรือวิไล แล้วนำไปแต่งเพลงจนโด่งดังก็ตาม ไม่มีใครไห้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้เพราะคุณชาตรี ศรีชลได้เสียชีวิตไปแล้วตอนอายุได้40ปีในปีพ.ศ.2532 เหตุผลเดียวที่ยังไม่มีใครลืมวิไลสาวผักไห่ อยุธยา เพราะวิไลแปลว่าความงาม ตราบใดที่ยังมีความงาม สวยงาม สาววิไลก็ยังอยูในใจทุกคนเสมอ