Attraction

วัดต่างๆในอำเภอผักไห่


วัดยานอ่างทอง โดยขนมไทยไกลหวาน ผักไห่ อยุธยา

ตั้งอยู่ หมู่ 6 ต.บ้านใหญ่ ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรม บานประตูและหน้าต่างเป็นรูปเทพและยักษ์ โบราณวัตถุมีธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก มีเจดียา4องค์ ล้อมรอบวิหารจึงถือเอาประมาณ พ.ศ.2367

วัดนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนาในสมัยรัชกาลที่ 3 ครั้งเมื่อรัชการที่4 ทรงผนวชได้มาเทศน์ในงานฉลองวัดนี้ด้วยพร้อมกับเรียกวัดนี้ว่า “วัดจุฬาโลก” ไห้สอดคล้องกับวัดของพระสหายคือ “วัดโมลีโลก”

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนและเพิ่งมาทำการบูรณะ แล้วเสร็จ ปี2558 องค์อุโบสถและมณฑปยอดปรางค์

ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หอสมุดแห่งชาติ (959.314 พ339 ป ฉ 11)


วัดฤาไชย 

ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่5 ต.ฤาไชย หรือ ลือไชย สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1900 สมัยกรุงศรีอยุธยา ในจุลศักราช 1267 พุทธศักราช 2448 ได้เชิญพระบรมสารีรอเกธาตุ24พระองค์ ซึ้งนายปลื้ม พลทหารราบที่3 ได้เชิญมาจากพระเจดีย์ซึ่งชำรุดหักพังจากวัดปุล่ามเมืองพะเยา ในมณฑลพายัพ เข้าบรรจุไว้ในเจดีย์พระองค์นี้ (ปัจจุบันคือเจดีย์สีทอง) การปฏิสังขรณ์วัดได้แล้วเสร็จบริบูรณ์ ในปี ร.ศ. 124


วัดโคกทอง 

นมัสการหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง วัดนี้ตั้งอยู่เลขที่ 42 บ้านกกุฎี สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2370 เดิมวัดตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำน้อย สถานที่ตั้งวัดเป็นเนินสูงรียกว่า “โคก” เป็นที่เลี้ยงวัวควายของชาวบ้านเมื่อสร้างวัดขึ้นมาจึงเรียกว่า “วัดโคกทอง”

มีกุฏิสงฆ์ จำนวน18หลัง เป็นอาคารไม้ เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระประทานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธชินราชจำลอง และ มัเจดีย์เก่าแก่สร้างมานานกว่า 100 ปี

 

วังปลา

วังปลา ริมฝั่งแม่น้ำน้อย แหล่งปลาน้ำจืดตามธรรมชาติ โดย ขนมไทยไกลหวาน ผักไห่ อยุธยา

ตั้งอยู่ ที่บ้านอำมฤต หมู่ท่ี 7 แหล่งเลี้ยงปลานานชนิดจาก แหล่งน้ำตามธรรมชาติ อยู่บริเวณหน้าวัดตึกคชหิรัญ

ตลาดลาดชะโด

ตลาดลาดชะโด

ผ่านอดีตที่รุ่งเรืองทางการค้าสู่ความเงียบเหงาในปัจจุบันเมื่อถนนเข้ามาแทนที่เส้นทางน้ำ ลาดชะโดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมโดยเฉพาะปลาชะโด ในปัจุบันปลาชนิดนี้หาได้ยากแล้ว อำเภอผักไห่เป็นเมืองปลาชุมในอดีตจึงมีชื่อเสียงในการทำน้ำปลา ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาแห้ง ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ตลาดลาดชะโดเป็นตลาดซื้อขายที่สำคัญของชุมชนในระแวกนั้น เป็นศูนย์รวมความเจริญแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน บรรยากาศการพายเรือตามลำคลองพอมาถึงตลาดก็จอดเรือเทียบท่าไว้ท่าน้ำ แล้วก็ขึ้นไปจับจ่ายใช่สอยบนตลาด หรือ ในตลาดที่ทำด้วยไม้ยกพื้นกันน้ำท่วม เนื่องจากผักไห่ และ อยุธยาเป็นที่ลุ่มน้ำมีน้ำท่วมขังทุกปี ตลาดจึงถูกออกแบบปลูกสร้างไห้พ้นน้ำและสามารถยกไห้สูงขึ้นอีกได้ถ้าน้ำท่วมมากไปในปีนั้นๆ (หนุนไห้สูงขึ้นหนีน้ำ)

จากอดีตตลาดลาดชะโดนอกจากจะเป็นแหล่งชุกชุมของปลาชะโดแล้ว ก๋วยเตี๋ยวเรือลาดชะโดก็ไม่แพ้ที่ใดเลยเช่นกันทั้งคุณภาพและปริมาณ ที่ขึ้นชื่อ แม่บอกว่าแม่กินมาตั้งแต่ ชามละ 3-5 สตางค์ แต่สมัยผู้เขียน เป็นเด็ก 3 บาท ในขณะที่ก๋วยเตี๋ยวผักไห่ ชามละ5 บาท ปัจุบันก๋วยเตี๋ยวลาดชะโดชามละ15-20 บาท แต่ก๋วยเตี๋ยวผักไห่ ชามละ30บาทครับผม

สองฝั่งคลองยังคงมีไห้เห็นอุปกรณ์ยกยอริมคลอง เป็นวิธีดั้งเดิมของการหาปลาเพื่อยังชีพเหลือกินก็เอาไปขายเพื่อทำผลิตภัณฑ์ปลาต่อไป นอกจากนี้ยังมีเรือท่องเที่ยวไห้บริการชมสองฝั่งคลองหน้าน้ำหลาก เพราะในหน้าแล้งน้ำแห้งคอดคลองเสียดายจังครับเมืองอยุธยาที่ฝรั่งขนานนามว่าเป็นเวนีส ตะวันออกน้ำแห้งคอดคลอง ความสวยงามในสายน้ำเหือดแห้งหายไปเหมือนใจคนที่หลงลืมความหมาย และคุณประโยชน์ของสายน้ำ ปล่อยตื้นเขิน รกล้าง อย่างไม่ใยดี….

บ้านเขียว ขุนพิทักษ์ บริหาร

บ้านเขียวเป็นบ้านไม้โบราณ สีเขียวตามสไตส์บ้านขุนนาง สมัยเก่า  สังเกตุว่าบ้านขุนนางสมัยเก่า หรือ สถานที่สำคัญๆจะทาด้วยสีเขียวอมเทา สวยงามมาก บริเวณบ้านกว้างขวาง ปประมาณ1ไร่ เศษ ติดริมคลองแม่น้ำน้อย ในตำบลอมฤติ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุเกินกว่า 100 ปีเศษ

จากคำบอกเล่าบ้านเขียวเป็นของท่าน ขุนพิทักษ์ บริหาร ท่านเจ้าเมืองท่านแรกของอำเภอผักไห่ (แขวงเสนาใหญ่ในสมัยนั้น – รัชกาลที่ 5) ท่านขุนพิทักษ์ รักบ้านหลังนี้มาก อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ กิจการมากมายใหญ่โตมั่งสมกับเป็นท่านเจ้าเมืองในยุคสมัยนั้นๆ หลังจากสิ้นบุญท่านทางภรรยาและครอบครัวท่านเห็นว่าท่านรักบ้านหลังนี้มากจึงยกไห้เป็นของหลวง และย้านครอบครัวเข้าไปอยู่ใน กทม .

บ้านเขียวถูกกล่าวขานอย่างคับคลั้งเมื่อ ริว จิตสัมผัส ” รายการคนอวดผี ” ได้มาถ่ายทำและบวงสรวงดวงวิญญาณ ท่านขุนเพื่อขอขมาลาโทษ จากการที่มีเด็กคนหนึ่งล้มป่วยไปโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ทราบว่าเด็กคนนั้นเคยมาที่บ้านเขียวและอาจกระทำการบางอย่างลงไปโดยมิตั้งใจ รายการถ่ายทอดและสัมภาสญาติผู้ป่วยพร้อมกับการขอขมาลาโทษตามแบบความเชื่อดั้งเดิม กรณีมีการล่วงเกินโดยมิไก้ตั้งใจ บ้านเขียวจึงถูกกล่าวถึงบ้านสีเขียวที่ยังคงมีสิ่งลี้ลับอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน

ผู้เขียนเองได้มีโอกาสไปกราบไว้สักการะ ขอพรจากท่านพ่อเมืองผู้รักผักไห่ เป็นดังชีวิตและจิตใจ ขอพรไห้เป็นกำลังใจ ช่วยเหลือไห้ประกอบกิจการงาน ไห้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นคนหนึ่งที่รักผักไห่ และ กลับมาผักไห่ เพื่อสานต่อาชีพของสาวผักไห่ ที่ชื่อคุณแม่สงัด ปราศรีสืบต่อไปครับ

ขอกราบแสดงความเคารพท่าน และ กราบขอบพระคุณทุกแหล่งข้อมูลที่ทำไห้ ผักไห่ ดอทคอม ( www.pukhai.com ) มีความหมายมากกว่าที่คิดครับผม

กราบขอบพระคุณอย่างสุดซึ้งครับ

ประเสริฐ จรรยชาติ ( ปราศรี )

9 พ.ค.2558